27.11.50

The difference between European and Asian‏

การแสดง ​ ความ ​ คิดเห็น คนยุ ​ โรป ​ ​ ชอบแสดง ​ ความ ​ เห็นแบบตรงๆ คนเอเซีย ​ ​ ชอบแสดง ​ ความ ​ เห็นแบบอ้อมๆ ​





วิถีชีวิต คนยุ ​ โรป ​ ​ ตัวคนเดียว ​​ ตัวใครตัวมัน คนเอเซีย ​ ​ ไป ​ กัน ​ หมด ​ ทั้ง ​ ก๊กนี่ ​ แหละ



ความ ​ ตรงต่อเวลา คนยุ ​ โรป ​ ​ ตรงเป๊ะๆ คนเอเซีย ​ ​ ขอสายหน่อยน่า ​ ( เอ ​ ... ​ ชัก ​ จะ ​ ไม่ ​ หน่อย ​ แล้ว ​ ล่ะ)


การสื่อสาร คนยุ ​ โรป ​ ​ รู้ ​ กัน ​ เฉพาะกลุ่มใครกลุ่มมัน คนเอเซีย ​ ​ รู้ ​ กัน ​ ทั้ง ​ ซอย ​​ รู้ ​ กัน ​ ทั้ง ​ ตำ ​ บล





การแสดงอารมณ์ ​ โกรธ ​​ ไม่ ​ พอใจ ​



การ ​ เข้า ​ คิว ​


ความ ​ มั่นใจ ​ ใน ​ ตัวเอง คนยุ ​ โรป ​ ​ สุดๆ คนเอเซีย ​ .........


บรรยากาศถนน ​ ใน ​ เมือง ​​ วันหยุด



บรรยากาศงานเลี้ยง คนยุ ​ โรป ​ ​ กระจาย ​​ พวกใครพวกมัน คนเอเซีย ​ ​ เอ้า ​​ ล้อมวง ​​ ล้อมวง ​



การท่องเที่ยว คนยุ ​ โรป ​ ​ บันทึก ​ ไว้ ​ ใน ​ ความ ​ ทรงจำ คนเอเซีย ​ ​ บันทึก ​ ด้วย ​ กล้องสิจ้ะ


นิยามแห่ง ​ ความ ​ งาม คนยุ ​ โรป ​ ​ ผิวสี ​ แทนสิ ​ ​ สวยสุดๆ คนเอเซีย ​ ​ ต้อง ​ ขาว ​ เข้า ​ ไว้ ​ ​ ขาว ​ เข้า ​ ไว้


การจัดการ ​ กับ ​ ปัญหา คนยุ ​ โรป ​ ​ พุ่ง ​ เข้า ​ ชนปัญหา ​ ไปเลย คนเอเซีย ​ ​ ขอเลี่ยงปัญหาดีกว่านะ ​


การคมนาคม คนยุ ​ โรป ​ ​ เปลี่ยน ​ จาก ​ ขับรถ ​ ​ มาปั่นจักรยานดีกว่า คนเอเซีย ​ ​ เลิกปั่นจักรยาน ​ ​ มาขับรถ ​ กัน ​ ดีกว่า



วิถีชีวิตยามแก่ชรา คนยุ ​ โรป ​ ​ โ ┤ ดเดี่ยว ​ ​ อยู่ ​ กับ ​ หมา คนเอเซีย ​ ​ อบอุ่น ​ ​ อยู่ ​ กับ ​ หลานๆ ​


เจ้านาย ​ กับ ​ ลูกน้อง คนยุ ​ โรป ​ ​ เหนือกว่าลูกน้องนิดหน่อย คนเอเซีย ​ ​ อำ ​ นาจล้นฟ้า ​ ​ ข่ม ​ กัน ​ สุดเดช





เด็ก ​ กับ ​ ผู้ ​ ใหญ่ คนยุ ​ โรป ​ ​ เสมอภาคจ้า คนเอเซีย ​ ​ ต้อง ​ ควบคุมมัน ​ ไว้ ​





ตอนนี้กำ ​ ลังนิยมอะ ​ ไร ​ กัน ​ อยู่ ​ นะ คนยุ ​ โรป ​ ​ กำ ​ ลังนิยม ​ ความ ​ เป็น ​ เอเซีย ​ อยู่ คนเอเซีย ​ ​ กำ ​ ลังนิยม ​ ความ ​ เป็น ​ ยุ ​ โรป ​ อยู่



About Bruce_Mau



ความคิด ความเชื่อ และแรงผลักดันในการทำงาน ของเขา ที่น่าสนใจ 13 ข้อ


20.11.50

Jonathan Barnbrook

ดีไซน์ด้วยจิตสำนึก – ดีไซน์เพื่อสังคม





ในแวดวงนักออกแบบตัวอักษร (หรือที่เรียกกันเก๋ๆ ว่า Typographer) ชื่อเสียงเรียงนามของ ‘โจนาธาน บาร์นบรูค’ (Jonathan Barnbrook) เป็นที่รู้จักกันดีในระดับโลกตั้งแต่ยุค 90’s เป็นต้นมา ด้วยผลงานการสร้างสรรค์ Font หรือ ตัวพิมพ์อักษรภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบสื่อโฆษณาต่างๆ ได้อย่างมีสีสันและมีสไตล์ที่หลากหลาย

ที่สำคัญ ผลงานของบาร์นบรูคถูกยกย่องจากคนในวงการว่าเป็นการออกแบบตัวอักษรที่ผสมผสานระหว่าง ‘ความเป็นศิลปะ’ และ ‘การนำไปใช้ประโยชน์ด้านการออกแบบ’ ได้อย่างลงตัว

ผลงานการออกแบบของ โจนาธาน บาร์นบรูค
นิทรรศการที่จัดแสดงงานออกแบบตัวอักษรของเขาถูกจัดขึ้นตามมหานครที่เป็นผู้นำของโลกในด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น ลอนดอน นิวยอร์ก หรือว่าญี่ปุ่น แต่สิ่งที่ทำให้บาร์นบรูคถูกกล่าวขวัญถึง ไม่ได้เกิดจากชื่อเสียงในการออกแบบตัวอักษรเพียงอย่างเดียว เพราะดีไซเนอร์ชาวอังกฤษคนนี้ยังเป็นที่รู้จักในอีกฐานะหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า ‘Conscientious Designer’
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะหาคำศัพท์ภาษาไทยมานิยามอย่างไรให้ลงตัว แต่ถ้าจะแปลแบบทื่อๆ ก็คงต้องบอกว่ามิสเตอร์บาร์นบรูคเป็น ‘ดีไซเนอร์ด้วยจิตสำนึก’ คนหนึ่ง ซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับการออกแบบงานโฆษณาและสื่อต่างๆ (ซึ่งถือเป็นพาณิชย์ศิลป์) ว่า ‘จรรยาบรรณของดีไซเนอร์หรือนักออกแบบ คืออะไรกันแน่?’
ถ้าเป้าหมายสูงสุดของการออกแบบ คือการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสมดุลทางศิลปะในผลงานที่ทำให้ได้ (ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่นักออกแบบทั่วไปใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการทำงาน)
สำหรับบาร์นบรูค เขารู้สึกว่าแค่นั้นไม่น่าจะพอ...
ในเวลาต่อมา เงื่อนไขในการทำงานของบาร์นบรูคไม่ได้จำกัดอยู่แค่ว่าลูกค้าของเขาเป็นใคร ต้องการงานออกแบบประเภทไหน หรือกลุ่มเป้าหมายคือใคร แต่การตั้งคำถามถึง ‘เจตนา’ และ ‘ปูมหลัง’ ของลูกค้าที่เขาต้องออกแบบงานให้ กลายเป็นเรื่องที่บาร์นบรูคใส่ใจมากเป็นพิเศษ และสิ่งสำคัญที่เขาสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ลูกค้าของเขาเคย ‘ทำอะไร’ มาบ้าง และถ้าหากผลงานที่เขาออกแบบต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทหรือธุรกิจที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนส่วนใหญ่ บาร์นบรูคเลือกที่จะไม่รับงานนั้น...
ลำพังแค่การปฏิเสธไม่ร่วมสังฆกรรมกับลูกค้าที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่สิ่งที่ทำให้บาร์นบรูคได้รับความเลื่อมใสจากคนในแวดวงนักออกแบบ คือการต่อยอดผลงานด้วยการออกแบบเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณารณรงค์เรื่อง ‘วันไม่ซื้ออะไรเลย’ หรือ Buy Nothing Day ร่วมกับองค์กร Adbusters เพื่อเชิญชวนให้ประชากรโลกงดซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นเวลาหนึ่งวัน (ก็ยังดี) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม รวมไปถึงการแสดงจุดยืนต่อต้านเผด็จการทางการเมืองอย่างผู้นำประเทศเกาหลีเหนือและผู้นำสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่าคนที่หมั่นไส้นักออกแบบศีลธรรมจ๋าอย่างบาร์นบรูคก็มีไม่น้อย แต่ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ ฉันใดก็ฉันนั้น บาร์นบรูคจึงพร้อมเสมอสำหรับการให้สัมภาษณ์ออกสื่อ เพื่อเปิดสมองและความคิดให้คนที่สนใจได้วิพากษ์วิจารณ์กันเต็มที่!

บทสัมภาษณ์ โจนาธาน บาร์นบรูค แปลและเรียบเรียงจาก ‘Jonathan Barnbrook about responsibilities in design’

+คุณกลายเป็นนักออกแบบเพื่อสังคมอย่างจริงๆ จังๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่
มันเกิดจากความคิด 2 ประการที่อยู่ในหัวผม แต่การเรียกอย่างนั้นมันฟังดูเหมือนผมเป็นเจ้าลัทธิโอมชินริเกียวหรืออะไรทำนองนั้นเลยนะ... (หัวเราะ)
ความคิดแรกเกิดขึ้นตอนที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ตอนนั้นผมสับสนและไม่มีความสุขกับการทำงานโปรเจกต์ที่ต้องเสนอขายลูกค้า พอขึ้นปีสอง ผมก็หันมาสนใจเนื้อหาในหนังสือ ‘สเตปเปนวูล์ฟ’ ของเฮอร์มัน เฮสเส ผมรู้ว่าคนเยอรมันเกลียดหนังสือเล่มนี้ เพราะมันเป็นหนังสือที่พวกเขาถูกบังคับให้ต้องอ่านประกอบการเรียน แต่มันเป็นหนังสือเล่มแรกที่อ่านแล้วทำให้ผมเข้าใจประสบการณ์ในชีวิตตัวเอง ผมบอกกับตัวเองว่าไม่มีวันที่ผมจะหางานทำไม่ได้ และไม่มีทางที่ผมจะยอมตกงานอย่างเด็ดขาด แต่ผมก็นึกขึ้นได้ในตอนนั้นว่าถ้าเราทำงานในสิ่งที่เรารักและพร้อมทุ่มเทให้กับมัน งานดีๆ ก็จะตามหาเราจนเจอ และผู้คนก็จะสนใจในงานนั้นด้วย
ส่วนความคิดที่สอง เกิดขึ้นหลังจากที่ผมออกจากวิทยาลัยมาแล้ว ผมทำงานออกแบบตัวอักษรอยู่นาน ผมเริ่มต้นทำโครงการศิลปะที่เกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรหรือประโยคต่างๆ ที่ตอนแรกก็ยังไม่มีความหมายอะไร เพราะอย่างนั้นผมเลยพยายามหาอะไรที่มันจะสร้างความหมายให้กับผลงาน และประเด็นเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง ก็เป็นสิ่งที่ผมนำมาพูดถึงและใส่ไว้ในผลงานมากที่สุด
+คุณพอจะยกตัวอย่างผลงานออกแบบที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเปลี่ยนทัศนคติของผุ้คนเกี่ยวกับประเด็นที่คุณแทรกไว้ในผลงานได้ไหม
ผมไม่คิดว่ามันจะได้ผลขนาดนั้นนะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารชนิดไหนก็ไม่มีทางเปลี่ยนผู้คนได้ในทันทีทันใดหรอก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเห็นโฆษณารถยนต์ คุณไม่มีทางพูดว่า ‘นี่เป็นรถที่เจ๋งมาก’ จากนั้นก็ไปซื้อรถทันที แต่ผลงานโฆษณาต้องใช้เวลาในการซึมซับลงไปในจิตสำนึกของคุณ ซึ่งมันก็คงได้ผลแบบเดียวกับการนำเสนอข้อความทางการเมืองลงไปในนั้นนั่นแหละ
ถ้าคุณลองมองไปในอดีต ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเพียงเพราะโปสเตอร์หรือการโฆษณาชวนเชื่อเพียงครั้งเดียว งานที่ผมทำอยู่ก็คือการเพิ่มเติมพื้นที่ทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องการเมืองให้กับคนในสังคม เวลาที่คุณทำอะไรบางอย่าง และคุณเห็นว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ผมรู้ว่านั่นคือความสำเร็จ เพราะอย่างเรื่องโลกาภิวัตน์ที่กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็พูดถึง และไม่ได้เป็นการพูดถึงในแบบที่เคยพูดกันเมื่อสิบปีก่อนด้วย นี่เป็นผลจากการประท้วงและการผลักดันของคนธรรมดาๆ ที่ทำให้ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องที่ต้องทบทวนใหม่
เวลาที่ผมคุยกับดีไซเนอร์หลายๆ คน ผมพบว่าพวกเขาไม่เคยตั้งคำถามกับลูกค้าที่เขาทำงานด้วย ตราบใดที่พวกเขายังได้ออกแบบผลงานเท่ๆ และลูกค้าพวกนั้นก็จ่ายเงินแพงๆ ให้ แต่ผมยิ่งกว่าดีใจเสียอีกนะ เพราะผมสังเกตเห็นว่าระยะหลังๆ มีคนตั้งคำถามเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
+คุณคิดว่าการเป็นกราฟิกดีไซเนอร์แบบที่คุณเป็นอยู่มีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมจริงๆ หรือ และคุณคิดว่างานของคุณสร้างอิทธิพลให้กับคนอื่นได้อย่างไร ดีไซเนอร์มีพลังมากมายมหาศาลเลยล่ะ เพราะสิ่งที่คุณทำคือการสร้างสื่อที่จะส่งสารไปยังมวลชน และสื่อนั้นก็มีความหมาย มันสามารถทำให้เกิดการก้าวกระโดด หรือไม่ก็อาจจะช่วยเปลี่ยนสังคมได้โดยทางอ้อม
+คุณเลือกที่จะสร้างบริษัทเล็กๆ และมีสตูดิโอขนาดไม่ใหญ่นัก เพื่อที่คุณจะได้มีโอกาสคัดกรองลูกค้าที่อยากทำงานด้วย หรือบางคนอาจเลือกทำงานแบบฟรีแลนซ์ ซึ่งอาจจะเป็นการตัดปัญหาไม่ให้มีใครมาบงการว่าคุณต้องทำอย่างไร แต่มันพอจะมีตัวเลือกอื่นๆ ไหมสำหรับดีไซเนอร์ที่ยังต้องทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ และไม่มีอิสระในการเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำงานไหน สิ่งที่คุณทำได้คือการสร้างความสมดุลในชีวิตนอกเหนือจากเวลางาน คุณสามารถใช้ทักษะของคุณได้อย่างเต็มที่ ผมรู้ว่าคนในแวดวงนักออกแบบก็ทำงานกันหนักอยู่แล้ว
แต่ทักษะในการออกแบบคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ คุณสามารถทำอะไรบางอย่างให้กับองค์กรท้องถิ่น หรือแม้แต่องค์กรระดับโลกที่ต้องการผลงานออกแบบที่สร้างสรรค์เพื่อดึงดูดผู้คน เรื่องพวกนี้คือสิ่งที่ทำได้ดีกว่าการหันหลังให้กับลูกค้าบางรายในขณะที่คุณยังต้องทำงานให้กับนายจ้างที่ให้เงินเดือนคุณอยู่ คุณต้องสร้างความสมดุลให้กับผลงานด้านบวกและผลงานด้านลบ แต่ถ้าเกิดว่าคุณทำงานเป็นฟรีแลนซ์ ผมว่าคุณควรพยายามหาหลักเกณฑ์บางอย่างมาใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับทำงานชนิดไหน ผมไม่ชอบการตั้งคำถามประมาณว่า “ถ้าอย่างนั้นฉันจะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายล่ะ” ผมว่ามันเป็นคำถามที่ลดคุณค่าของคุณลงไป และเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น
ถ้าคุณเชื่อว่างานออกแบบมีคุณค่าจริงๆ ล่ะก็ คุณควรจะใช้มันในทางที่สร้างสรรค์มากกว่าจะใช้มันในการทำงานโดยไม่เคยตั้งคำถามอะไรเลย คุณไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่คุณทำงานอยู่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองในโลกใบนี้ และคุณก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าบทบาทของงานดีไซน์แทรกอยู่ในนั้นด้วย มันมีเรื่องของสังคม การเมือง และผลกระทบต่อจิตใจต่อผู้คนแทรกอยู่ในหน้าที่ของคุณ-ในฐานะดีไซเนอร์
คนเราไม่ควรเสแสร้งทำเป็นว่าไม่มีส่วนรับผิดชอบในสิ่งเหล่านั้น เพราะเราต้องรับผิดชอบ พวกเราทุกคนนั่นแหละ ที่ต้องรับผิดชอบ!
+คุณสามารถพูดเรื่องจรรยาบรรณของคุณกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาได้หรือเปล่า ถ้าทำได้จริง คุณทำยังไง
มันขึ้นอยู่กับว่าคุณมีลูกค้าประเภทไหนบ้าง เมื่อเร็วๆ นี้มีบริษัทแห่งหนึ่งในเกาหลีถามว่าเราจะทำให้คนจดจำสัญลักษณ์ของบริษัทได้อย่างไร กิจการของบริษัทนั้นคือโรงแรมที่มีเครือข่ายมากมาย ที่จริงเวบไซต์ของพวกเขาเจ๋งดีนะ ในนั้นมีรูปภาพครอบครัวแสนสุขโชว์อยู่ด้วย แต่จริงๆ แล้วแหล่งเงินของบริษัทนี้ มาจากการค้าอาวุธสมัยสงครามเกาหลี พวกเขาเคยขายกับระเบิดที่ถูกนำไปวางทั่วเกาหลี รวมถึงแก๊สน้ำตาที่ใช้กับนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาต่อต้านสงครามในยุค 80 ด้วย เพราะงั้น คุณจะต้องไม่ทำงานให้กับคนพวกนี้!
เราได้รับการติดต่อจากบริษัทที่มีปูมหลังคล้ายๆ อย่างนี้อีกหลายราย ทางเราก็จะติดต่อกลับไปในแบบสุภาพชนน่ะนะ แล้วก็อธิบายเหตุผลให้พวกเขาเข้าใจว่าทำไมเราถึงไม่อาจทำงานให้ได้ อย่างบริษัทเกาหลีรายนั้น ผมว่าพวกเขาพูดภาษาอังกฤษได้ดีมากเลยนะ แต่พวกเขาก็ไม่เคยตอบกลับมา พวกเขาคงไม่อยากพูดถึงมัน แต่อย่างน้อยผมก็ยังได้บอกกับเขาแล้วว่าทำไมผมถึงไม่ทำงานให้พวกเขา
+คุณตัดสินใจอย่างไรว่าจะทำหรือไม่ทำงานไหน เพราะถึงจะทำการวิจัยอย่างดีก่อนที่จะรับงาน บางบริษัทก็อาจจะยังมีความลับดำมืดซ่อนไว้อยู่ดี
แน่นอนว่าถึงจะทำวิจัย แต่มันก็บอกอะไรเราได้ไม่หมดหรอก แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล ผมก็จะไม่รับทำงานนั้น แต่คุณก็คงจะพบอยู่บ่อยๆ แหละว่าบริษัทอีกมากมายที่มีปัญหาเรื่องการทำงานประเภทนี้ อย่างบริษัทของผมก็ยังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลที่ผลิตในจีน ซึ่งผมไม่มีทางรู้เลยว่าคนงานในโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ในจีนจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากนายจ้างหรือเปล่า
หลายสิ่งหลายอย่างมันซับซ้อนมากขึ้นน่ะ! ถ้าจะให้พูดสั้นๆ ผมจะบอกว่า ถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัท คุณก็สามารถตัดสินใจได้เลยว่างานไหนที่คุณจะรับทำ และถ้าคุณเป็นลูกจ้างคนหนึ่งของบริษัท คุณคงต้องหาทางสร้างความสมดุลโดยการทำงานนอกเวลา แต่ถ้าเกิดคุณรู้สึกว่าคุณควรจะออกจากที่นั่น คุณก็ควรจะตัดสินใจเดินจากมา งานออกแบบของคุณไม่มีวันแยกจากคุณได้อยู่แล้ว!
+ภรรยาของคุณเป็นชาวญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน สังคมญี่ปุ่นก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยความสุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นกระแสบริโภคนิยมหรือว่าโลกาภิวัตน์ คุณมีความคิดเห็นเฉพาะเจาะจงอย่างไรกับคนญี่ปุ่นหรือเปล่า
ดูเหมือนว่าดีไซเนอร์ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ กำลังจมอยู่กับสไตล์มากเกินไป และเรื่องของสไตล์ก็ไม่เกี่ยวกับความเจ๋งสักหน่อย!!! สไตล์ที่แท้จริงเกิดจากปรัชญาเบื้องหลังการทำงาน และมันก็เกี่ยวกับการพยายามแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับงานออกแบบต่างหากล่ะ! เพราะฉะนั้น ผมหวังว่าดีไซเนอร์ทั้งหลายจะทำตัวเองให้เป็นนักแก้ปัญหาด้านการออกแบบมากกว่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผูกขาดในการสร้างสไตล์น่ะ
+ตอนนี้คุณกำลังทำงานหรือโครงการอะไรอยู่บ้าง ผมกำลังเตรียมงานแสดงนิทรรศการที่จะจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ลอนดอนในเดือนมิถุนายนนี้ แล้วก็กำลังทำหนังสือรวมผลงานออกแบบ ซึ่งเป็นงานของสตูดิโอผมเอง หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Barnbrook Bible ซึ่งผมใช้เวลากับมันมา 5 ปีแล้ว ผมหวังว่ามันคงจะเสร็จก่อนที่นิทรรศการจะเริ่มนะ สำหรับงานที่เป็นด้านพาณิชย์ศิลป์ เรากำลังทำโฆษณาเพื่อองค์กรการกุศลอย่างยูนิเฟม (Unifem) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ เป็นองค์กรที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาสตรี โครงการที่เรารับทำจะเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง ล่าสุดเราทำงานออกแบบให้กับริวอิชิ ซากาโมโต ผู้ก่อตั้งเวบไซต์ Stop Rokkasho ที่ต่อต้านการสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในญี่ปุ่นด้วย เพราะมีข่าวว่าเตาปฏิกรณ์ฯ หลายแห่งมีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วออกมา และมันก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของยูเรเนียมด้วย มันอาจจะถูกนำไปใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ เวลาที่เราแสดงงานนิทรรศการ เราต้องการทำงานเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในตอนนั้น เพราะงานออกแบบอาจจะอยู่ไม่ได้นาน เราก็เลยพยายามทำให้แน่ใจว่าเราได้สร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับมัน เราต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมและการเมืองในหนทางที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด และแทนที่เราจะไปตะโกนป่าวร้อง ผมว่าการทำให้มันดูสุภาพและมีมนุษยธรรม ดูจะเป็นหนทางที่ดีกว่ากันเยอะ










12.11.50

About : CITIZEN GROUP & FTF

What does it mean?

Citizen : พลเมือง , ประชากร

FTF : First things first. ; ทำสิ่งสำคัญก่อน


นักออกแบบ ; ผู้รับสาร
ผู้สร้างสรรค์งาน
มิติของงาน Visual,Surface,Interface,Expression

designer หรือ นักออกแบบ
ไม่ได้มีความหมายง่าย ๆ และเป็นเพียงแค่การเป็นผู้มีพรสวรรค์
มันต้องมีอะไรมากกว่านั้น
ซึ่งรวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ในแง่ ศิลธรรมจรรยาบัน

น่าสนใจกับคำถามของกลุ่ม citizen "อะไรคือความเหมาะสมกับ Brand ในยุคศตวรรษที่ 21 และควรทำอย่างไรกับโลกที่มีแต่การสื่อสาร(ที่เหมาะสมแล้ว...รึ?

กับคำตอบที่ให้ไปคิดต่อ.....
คุณค่าของงานออกแบบจะต่ำลงหรือไม่?
จำเป็นไหมที่จะต้องมี นักออกแบบ?
ปัญหาของโลกใครจะเป็นคนรับผิดชอบ?

จุดประสงค์ของ citizen design แค่อยากจะเปลี่ยนค่านิยมของผู้บริโภคเลิกยึดติดกับตราสินค้า และบริษัทหรือผู้ผลิตเลิกนึกถึงแต่ ผลกำไร สิ่งที่ citizen designer พยายามแสดงให้ทุกคนเห็นถึงการออกแบบที่ช่วยให้เข้าถึง การยังคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิต
โดยรวมรวม แสดงถึงความจำเป็นที่ควร ออกแบบ แล้วคิดคำนึงถึง อนาคต

ช่วงระหว่าง research ข้อมูลเกี่ยวกับ Citizen designer ก็พบกับองค์กรอีกหนึ่งองค์กรที่น่าสนใจมีจุดประสงค์ใกล้เคียงกัน ก็คือ FTF


Designer ที่เข้าร่วมลงนามในปี 2000
Jonathan Barnbrook
Nick Bell
Andrew Blauvelt
Hans Bockting
Irma Boom
Sheila Levrant de Bretteville
Max Bruinsma
Sian Cook
Linda van Deursen
Chris Dixon
William Drenttel
Gert Dumbar
Simon Esterson
Vince Frost
Ken Garland
Milton Glaser
Jessica Helfand
Steven Heller
Andrew Howard
Tibor Kalman
Jeffery Keedy
Zuzana Licko
Ellen Lupton

Katharine McCoy
Armand Mevis
J. Abbot Miller
Rick Poynor
Lucienne Roberts
Erik Spiekermann
Jan van Toorn
Teal Triggs
Rudy VanderLans
Bob Wilkinson


8.11.50

สวัสดิกะ

ไปเจอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์สวัสดิกะ ในเรื่องของที่มาและความหมายของสัญลักษณ์สวัสดิกะ เลยนำมาเสนอ

โดย สันติ ลอรัชวี
Article / A Day Weekly Magazine
สิงหาคม ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๑๓
ปัจุบันทัศนคติของผู้คนทั่วไปที่มีต่อสัญลักษณ์สวัสดิกะหรือเครื่องหมายแห่งพรรคนาซีน่าจะแตกต่างไปจากผู้คนในยุคก่อนหน้านี้ และก็น่าจะแตกต่างไปจากผู้คนก่อนหน้าโน้นอีกที...

การปรากฏสัญลักษณ์นี้ตามสิ่งของต่างๆ ในสังคมยุคบริโภค เช่น เสื้อยืด รอยสัก ลวดลายตามกำแพง เป็นต้น เวลาและยุคสมัยกลับค่าให้สัญลักษณ์ที่เคยเป็นเครื่องหมายแห่งความรุนแรงและ เป็นที่ต่อต้านของผู้คนทั่วโลก เป็นเพียงลวดลายที่นำมาใช้ประดับตกแต่งเครื่องแต่งกายหรือเป็นแค่สัญลักษณ์ของวัยรุ่นที่อยากจะนำเสนอความขัดแย้งกับสังคม แต่ระดับความเข้มข้นนั้นอาจเทียบไม่ได้กับที่มันเคยเป็น...
สัญลักษณ์สวัสดิกะมีบทบาทและเป็นที่จดจำของคนแทบทั้งโลกจากการเปนเครื่องหมายแห่งพรรคนาซีในยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลายคนคงยังไม่รู้จักสวัสดิกะในความเป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ของโลก
เชื่อว่าสัญลักษณ์สวัสดิกะ (Swastika) มีวิวัฒนาการมากว่าสามพันปีจากอักษรอียิปต์โบราณ คือ ตัว "อันค์" (Ankh) ซึ่งหมายถึง ชีวิต (Life) ซึ่งที่มาแรกเริ่มก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดและยังเป็นที่โต้แย้งในหมู่นักโบราณคดีและนักวิชาการ อาจจะเนื่องจาก สัญลักษณ์สวัสดิกะถูกพบไปทั่วโลกในที่ต่างพื้นที่และต่างวัฒนธรรมกัน เช่น พบตามเครื่องปั้นดินเผาและ เหรียญโบราณที่อยู่ใต้ดินในพื้นที่ๆ เคยเป็นที่ตั้งของกรุงทรอยด์ สิ่งทอของยุคอินคา รวมทั้งพบตามประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย
ไม่ว่าสัญลักษณ์นี้จะมีที่มาจากที่ใด แต่น่าจะมีการแพร่กระจายไป พร้อมๆกับการค้าและการเผยแพร่ศาสนา ผ่านเส้นทางการค้าทั้งเส้นทางสายไหมและเส้นทางขนส่งเครื่องเทศทางทะเล
คำว่า "สวัสดิกะ" (Swastika) มาจากภาษาสันสกฤต โดยประกอบด้วยคำว่า "สุ" (Su) แปลว่า ดี รวมกับคำว่า "อัสติ" (Asti) แปลว่า มี และต่อท้ายด้วย "กะ" เป็นอาคม (ส่วนที่ต่อท้ายคำ) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความมีชีวิต ความกระตือรือร้น อำนาจ ความแข็งแกร่ง และความโชคดี
จะเห็นได้ว่าแรกเริ่มเดิมทีสัญลักษณ์สวัสดิกะ ถูกใช้ในความหมายที่ดี จนกระทั่งในปี คศ. 1920 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ดัดแปลงสัญลักษณ์สวัสดิกะมาเป็นเครื่องหมายแห่งพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน (National Socialist Workers Party หรือ The Nazis) ในหนังสือ From The Men Behind Hitler เขียนโดย Bernard Schreiber ได้บอกว่าแนวคิดในการนำสัญลักษณ์สวัสดิกะมาใช้กับนาซีมาจากความคิดของทันตแพทย์ที่เป็นสมาชิกที่ชื่อ Dr. Friedrich Krohn แต่ในหนังสือ Mein Kampf (My Struggle) ของฮิตเลอร์ กลับไม่ได้กล่าวถึง Krohn แต่อย่างใด กลับกล่าวถึงการออกแบบสัญลักษณ์ว่า..."เขาได้ออกแบบและพยายามนับครั้งไม่ถ้วน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งรูปแบบที่สมบูรณ์ จนได้ธงที่มีพื้นหลังสีแดง มีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง และมีสัญลักษณ์สวัสดิกะสีดำอยู่ในวงกลม"
อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์สวัสดิกะคงไม่ถูกนำมาดัดแปลงใช้ ถ้าฮิตเลอร์ไม่ต้องการและนำมาจัดการจนเสมือนระบบอัตลักษณ์ (Identity System) ของตนเอง ทั้งในด้านการแสดงตัวตนและด้านการโฆษณาชวนเชื่อ และมีการคำนึงถึงคุณภาพในการสื่อสารผ่านการออกแบบสัญลักษณ์สวัสดิกะ ดังจะเห็นจากตอนหนึ่งในหนังสือ Mein Kampf เกี่ยวกับสีของธงนาซีว่า... "สีแดงในธงเราเห็นความคิดเชิงสังคม ในขณะที่สีขาวแสดงถึงความเป็นชนชาติ โดยสัญลักษณ์สวัสดิกะสีดำเป็น เจตจำนงค์ในการต่อสู้เพื่อชัยชนะ และต่อต้านชนชาติยิว"
และหลังจากนั้นสัญลักษณ์ที่ดูคล้ายตะขอไขว้ก็แผ่ขยายไปในองค์ประกอบต่างๆ ของพรรคนาซี กลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองและสังคมโลก และขณะที่ธงสวัสดิกะนาซีโบกสบัดเป็นเวลาเดียวกันกับการเลือนหายของ สัญลักษณ์สวัสดิกะเดิมในอดีต ผู้คนสามารถมองเห็นการกระทำที่รุนแรงโหดร้ายต่างๆ ผ่านสัญลักษณ์สวัสดิกะนาซี ผู้คนเกิดความรู้สึกหวาดกลัวและชิงชังเพียงแค่เห็นธงโบกสบัด
เนื้อหาที่อยู่ในสัญลักษณ์นั้นแปรเปลี่ยนจากเดิม ให้ผู้คนและโลกปรับเปลี่ยนการรับรู้ต่อสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นเครื่องหมายอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มาเป็นสัญลักษณ์แห่งพรรคนาซีภายใต้การนำของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ความสำเร็จของสัญลักษณ์สวัสดิกะนาซีในยุคสมัยฮิตเลอร์ ไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องประเมินคุณค่าทางการออกแบบได้เลย...
Stefan Sagmiester เคยเขียนไว้ในบทความของเขาว่า งานออกแบบที่ดี ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่ดี 2 อย่าง คือ การออกแบบที่ดี (good design) กับ จุดมุ่งหมายที่ดี (good cause) ซึ่งเราก็คงไม่สามารถจะบอกได้ว่าสัญลักษณ์สวัสดิกะแห่งพรรคนาซีเป็นงานออกแบบที่ดี แม้รูปแบบที่โดดเด่นและความเป็นที่จดจำของมันจะมีประสิทธิภาพสักแค่ไหน อาจจะง่ายกว่าในการจะเลือกชื่นชมป้ายบอกตามถนนหนทางทางที่ชาวบ้านเขียนขึ้นเอง เพราะอย่างน้อยก็มีประโยชน์ต่อผู้คนแม้จะไม่สวยงามและได้มาตรฐาน
การตายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในปี คศ. 1945 เป็นเวลา 25 ปีหลังจากสัญลักษณ์สวัสดิกะถูกดัดแปลงนำมาใช้ สงครามและความสูญเสียของมนุษยชาติได้ยุติลง ประเทศเยอรมนีรวมประเทศกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 มีให้ศึกษาและค้นคว้าอย่างนับไม่ถ้วน แต่สำหรับสถานภาพของสัญลักษณ์สวัสดิกะ จากสัญลักษณ์แห่งความมีชีวิต (well being) และความโชคดี (good fortune, luck) สู่สัญลักษณ์ที่มีพลังและบทบาทแห่งยุคสมัยภายใต้ตัวแทนแห่งความชั่วร้ายและเกลียดชัง ...
น่าสนใจว่าเวลาและยุคสมัยจะสามารถชำระเลือดที่เปรอะเปื้อนรูปตะขอไขว้นี้ได้หมดหรือไม่......
น่าสนใจว่าสัญลักษณ์สวัสดิกะบนเสื้อยืดจะพาสัญลักษณ์นี้เดินทางไปสู่นัยะใด...
(บางส่วนของบทความเรียบเรียงจาก The Swastika, Design Literacy - Understanding Graphic Design, Steven Heller and Karen Pomeroy)