26.1.51

ต่อ Micro vs Macro

แกนหลักที่จะนำเสนอของ Micro Macro คือสนใจเรื่อง การเพิ่มปริมาณของ Micro ทำ Macro เกิดการเปลี่ยนแปลง


เพราะคิดว่า Macro คือรายละเอียดยิ้บย่อย


อย่างชุดคำที่นำเสนอครั้งก่อน การเพิ่มตัวอักษรทำให้ คำๆนั้น เกิดความหมายใหม่


ถ้านำ Micro Macro มาเทียบกับผลิตภัณฑ์ ก็จะเปรียบได้ว่า


Micro เท่ากับ วัตถุดิบ

ส่วน Macro เท่ากับ ตัวผลิตภัณฑ์


ตัวอย่างเช่น


ดังรูป นมที่วางขายตามท้องตลาดไม่ว่าจะเป็นแบบขวดหรือแบบกล่อง วัตถุดิบมาจาก นม แต่ถ้าเราเพิ่มส่วนผสมเข้าไป (Micro) เราก็จะได้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New Macro)

21.1.51

Macro Photography

การถ่ายรูปที่เรียกว่า Macro Photography
ก็คือการถ่ายรูปแบบที่ให้ขนาดของรูปที่ได้ในฟิล์ม (หรือ sensor) มีขนาดเท่ากับของจริง เช่น ขนาดของแมลง 1 ซม. ในฟิล์มก็จะมีภาพขนาด 1 ซม. ด้วย หรือไม่ก็ขยายเพิ่มสองเท่าหรือสี่เท่าอะไรประมาณนี้ ไม่ใช่แมลงขนาด 1 ซม. แต่ขยายขึ้นมาเป็น 100 ซม. อย่างพวกกล้องจุลทรรศน์อะไรพวกนั้น
อย่าง ภาพนี้ เป็นภาพ ของเลนส์ ที่เรียก ว่า เลนส์ Micro แต่ภาพที่ได้จาก เลนส์ Micro เราจะเรียกภาพนั้น ว่า ภาพ Macro

ชื่อเลนส์ใช้ Micro แต่ถ้าเป็นการถ่ายรูปแบบนี้ใช้ Macro

Micro Vs Macro






เมื่อได้ยินคำว่า ไมโคร กับ แม็คโคร จากความรู้เดิม ก็แปลได้ว่า เล็ก กับใหญ่

แต่เพื่อสร้างคามมั่นใจ จึงหาแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม กันผิดพลาด เพราะ ไม่ใช่ภาษาแม่ของเรา ดิกชันนารี ช่วยคุณได้เสมอ ....


micro (1) - N. - ตัวประมวลผลกลางในคอมพิวเตอร์ (มาจากคำว่า microprocessor) (คำไม่เป็นทางการ)

micro- (2) - PRF. - เล็กมากๆ Syn. :: mini

micro (3) - ADJ. - เล็กมาก Syn. :: very small; microscopic


macro- (1) - PRF. - ขนาดใหญ่

macro (2) - N. - คำสั่งที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง (ทางคอมพิวเตอร์) Syn. :: macro instruction


หลังจากที่ได้ความหมาย ก็นึกถึงคำๆหนึง คือ different กับ opposite
แล้ว คำ 2 คำนี้ จะเกี่ยวข้องกันได้ไหม จำเป็นไหมว่า แม็คโคร จะต้องมีส่วนประกอบของไมโครอยู่ด้วย
สิ่งเล็กๆ จะรวมเป็นสิ่งใหญ่ หรือ สิ่งใหญ่ จะแตกออกเป็นสิ่งเล็กๆ
มองดูรอบตัว หิน 1 ก้อน อาจมองได้ว่า หลายๆสิ่งรวมกัน หรือ อาจจะมองว่า มันแตกมาจากหินก้อนใหญ่

ถ้าเราเปรียบ 1 นาที เท่ากับ Micro งั้น 1ปี จะเท่ากับ Macro รึเปล่า
Micro มีความหมายว่าเล็กแต่ก็ไม่ใช่เล็กที่สุด สิ่งที่เล็ก หรือน้อยกว่านาทีก็ยังมีวินาทีอีก อย่าง1 นาทีเมื่อเทียบกับ ปี ตัวมันก็จะมีค่าเท่ากับ Micro แต่ถ้าเราเทียมมันกับ วินาที ตัวมันก็จะเปลี่ยนสถานะ เป็น macro

อีกนัย หนึ่งอขง Macro เมื่อแปลจาก ดิก อังกฤษ เป็น อังกฤษ แล้ว จะแปลได้ว่ารายละเอียดยิบย้อย


อีกเรื่องที่สนใจ ก็คือ คำ อย่างคำว่า Macro ถ้าจะบอกว่า คำๆนี้ เป็น Macro เพราะฉะนั้น Micro ก็จะเป็นตัวอักษร หรือจุดที่ทำให้เกิดตัวอักษร


การเพิ่มของไมโคร อาจจะทำให้ แม็คโครนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การเพิ่มไมโคร ( อักษร 1 ตัวอักษร ) ในชุดตัวอักษรคำว่า " Macro"

7.1.51

ประเภทของ Information Design



งาน Information Design นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานในวงการ Graphic Design ถูกใช้กับสิ่งต่างๆเพื่อแสดงข้อมูลบางอย่าง เช่น การทำแผนที่ต่างๆ, ตารางเดินรถหรือใช้บอกปริมาณการผลิตภายในโรงงาน เป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงการนำ Information Design ไปผสมผสานกับสื่ออื่นๆ เช่น สารคดีเมืองโบราณโดยการใช้บอกเล่าเรื่องราวหรือบอกอาณาเขต โบราณสถาน และความสำคัญหรือตำนานต่างๆเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองทำให้ Information Design เป็นที่นิยมและนำไปปรับใช้ได้ จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
งานในแขนงนี้สามารถถูกออกแบบได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้เส้นโยงความสัมพันธ์หรือบอกทิศทาง, การใช้สีบอกความสำคัญของตัวข้อมูล, การใช้ Symbol แทนความหมายของข้อมูล เป็นต้น หรือแม้แต่การสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ข้อมูลนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ให้ผู้รับสารได้ฉุกคิดและเกิดความรู้สึกใหม่ต่อข้อมูลนั้นๆได้

Information Design แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามหลักของ Richard Saul Wurman ดังนี้



1 Location คือ การแสดงข้อมูลที่อิงกับสภาพทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่ เช่น แผนผังแสดงทางออกฉุกเฉิน แผนที่ท่องเที่ยวเป็นต้น










ภาพที่ 1 Information Design โดยใช้หลัก Location





ภาพที่ 2 Information Design โดยใช้หลัก Location




2 Alphabet คือ การเรียงข้อมูลจากลำดับตัวอักษร ตัวอย่างเช่น คำในพจนานุกรม และสารานุกรม การจัดข้อมูลโดยวิธีนี้ใช้เมื่อข้อมูลนั้นใช้เพื่ออ้างอิง การค้นหาจากคำ เหมาะกับการเข้าถึงข้อมูลแบบไม่เป็นแนวตรง




ภาพที่ 3 Information Design โดยใช้หลัก Alphabet

3 Time Line คือ การเรียงข้อมูลตามวัน เดือน ปี หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตารางเวลารายการโทรทัศน์ การใช้ระบบข้อมูลแบบนี้ใช้เมื่อต้องการนำเสนอหรือเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่มีความแน่นอน หรือเมื่อระบบฐานเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ เช่น การสาธิตขั้นตอนปฏิบัติการทีละขั้น






ภาพที่ 4 Information Design โดยใช้หลัก Time Line




ภาพที่ 5 Information Design โดยใช้หลัก Time Line


4 Category คือ การแบ่งแยกข้อมูลตามความคล้ายคลึงกันหรือสัมพันธ์ต่อกัน เช่น หมวดวิชาในหลักสูตรการเรียน ประเภทสินค้าในห้างสรรพสินค้า การจัดระบบข้อมูลวิธีนี้ใช้เมื่อข้อมูลจับเป็นกลุ่มตามความคล้ายคลึง หรือเมื่อผู้คนต้องการค้นหาข้อมูลจากกลุ่มที่คล้ายคลึงกัน เช่น เมื่อเราต้องการหาซื้อเครื่องเสียงเรามักจะไปแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ภาพที่ 6 Information Design โดยใช้หลัก Category

ภาพที่ 7 Information Design โดยใช้หลัก Category




5 Hierarchy คือ การเรียงลำดับข้อมูลตามความสำคัญ ขนาด จำนวน เช่น ต่ำไปหาสูง แย่ที่สุดได้ สุด ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับนักกีฬา ทีมกีฬาตามความสามารถ ลำดับผลการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การจัดข้อมูลวิธีนี้ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆด้วยระบบมาตรวัดเป็นต้น



ภาพที่ 8 Information Design โดยใช้หลัก Hierarchy





ภาพที่ 9 Information Design โดยใช้หลัก Hierarchy





ตัวอย่างงาน Information Design

ตัวอย่างที่ 1


ภาพที่ 10 ตัวอย่างงาน Information Design(Choose Your Weapon: The global Arms Trade



ตัวอย่างที่ 2





ภาพที่ 11 ตัวอย่างงาน Information Design
(Stealing The Show: The global movie biz)