7.1.51

ประเภทของ Information Design



งาน Information Design นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานในวงการ Graphic Design ถูกใช้กับสิ่งต่างๆเพื่อแสดงข้อมูลบางอย่าง เช่น การทำแผนที่ต่างๆ, ตารางเดินรถหรือใช้บอกปริมาณการผลิตภายในโรงงาน เป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงการนำ Information Design ไปผสมผสานกับสื่ออื่นๆ เช่น สารคดีเมืองโบราณโดยการใช้บอกเล่าเรื่องราวหรือบอกอาณาเขต โบราณสถาน และความสำคัญหรือตำนานต่างๆเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองทำให้ Information Design เป็นที่นิยมและนำไปปรับใช้ได้ จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
งานในแขนงนี้สามารถถูกออกแบบได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้เส้นโยงความสัมพันธ์หรือบอกทิศทาง, การใช้สีบอกความสำคัญของตัวข้อมูล, การใช้ Symbol แทนความหมายของข้อมูล เป็นต้น หรือแม้แต่การสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ข้อมูลนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ให้ผู้รับสารได้ฉุกคิดและเกิดความรู้สึกใหม่ต่อข้อมูลนั้นๆได้

Information Design แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามหลักของ Richard Saul Wurman ดังนี้



1 Location คือ การแสดงข้อมูลที่อิงกับสภาพทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่ เช่น แผนผังแสดงทางออกฉุกเฉิน แผนที่ท่องเที่ยวเป็นต้น










ภาพที่ 1 Information Design โดยใช้หลัก Location





ภาพที่ 2 Information Design โดยใช้หลัก Location




2 Alphabet คือ การเรียงข้อมูลจากลำดับตัวอักษร ตัวอย่างเช่น คำในพจนานุกรม และสารานุกรม การจัดข้อมูลโดยวิธีนี้ใช้เมื่อข้อมูลนั้นใช้เพื่ออ้างอิง การค้นหาจากคำ เหมาะกับการเข้าถึงข้อมูลแบบไม่เป็นแนวตรง




ภาพที่ 3 Information Design โดยใช้หลัก Alphabet

3 Time Line คือ การเรียงข้อมูลตามวัน เดือน ปี หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตารางเวลารายการโทรทัศน์ การใช้ระบบข้อมูลแบบนี้ใช้เมื่อต้องการนำเสนอหรือเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่มีความแน่นอน หรือเมื่อระบบฐานเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ เช่น การสาธิตขั้นตอนปฏิบัติการทีละขั้น






ภาพที่ 4 Information Design โดยใช้หลัก Time Line




ภาพที่ 5 Information Design โดยใช้หลัก Time Line


4 Category คือ การแบ่งแยกข้อมูลตามความคล้ายคลึงกันหรือสัมพันธ์ต่อกัน เช่น หมวดวิชาในหลักสูตรการเรียน ประเภทสินค้าในห้างสรรพสินค้า การจัดระบบข้อมูลวิธีนี้ใช้เมื่อข้อมูลจับเป็นกลุ่มตามความคล้ายคลึง หรือเมื่อผู้คนต้องการค้นหาข้อมูลจากกลุ่มที่คล้ายคลึงกัน เช่น เมื่อเราต้องการหาซื้อเครื่องเสียงเรามักจะไปแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ภาพที่ 6 Information Design โดยใช้หลัก Category

ภาพที่ 7 Information Design โดยใช้หลัก Category




5 Hierarchy คือ การเรียงลำดับข้อมูลตามความสำคัญ ขนาด จำนวน เช่น ต่ำไปหาสูง แย่ที่สุดได้ สุด ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับนักกีฬา ทีมกีฬาตามความสามารถ ลำดับผลการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การจัดข้อมูลวิธีนี้ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆด้วยระบบมาตรวัดเป็นต้น



ภาพที่ 8 Information Design โดยใช้หลัก Hierarchy





ภาพที่ 9 Information Design โดยใช้หลัก Hierarchy





ตัวอย่างงาน Information Design

ตัวอย่างที่ 1


ภาพที่ 10 ตัวอย่างงาน Information Design(Choose Your Weapon: The global Arms Trade



ตัวอย่างที่ 2





ภาพที่ 11 ตัวอย่างงาน Information Design
(Stealing The Show: The global movie biz)




ไม่มีความคิดเห็น: