8.6.51

การใช้จักรยาน ช่วยลด Energyและมลพิษ แต่ เพิ่ม Energy ให้ กับ ตัว เอง





เป็นที่รู้กันดีว่า "จักรยาน" คือพาหนะที่ดีที่สุดสำหรับทุกชุมชน และในยุค"น้ำมันแพง" บวกกับ"ปัญหาสิ่งแวดล้อม" ก็น่าจะมีการส่งเสริมสนับสนุน แต่น่าเสียดาย ที่รัฐบาลไทยไม่เคยสนใจและสนับสนุน




เพียงแค่ 20-30 ปี คนไทยเปลี่ยนมาเป็น"สังคมบ้ารถ" ใครไม่มีรถยนต์ขับ จะกลายเป็น"คนเชยในเมืองใหญ่"




"รถยนต์" สำหรับคนไทย มีความหมายมากมายนอกเหนือจากความเป็นพาหนะ เพราะมันเป็นตัวแทนของค่านิยมของผู้คนในสังคม ที่มองว่าใครมีรถยนต์เป็นผู้มีสถานะอีกระดับ และมักจะวัดกันด้วย"ราคารถ" ขณะเดียวกัน คนไทยก็"รู้"ดีว่า "รถยนต์"เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำลายสภาพแวดล้อมในอันดับต้นๆ ทั้งเรื่อง"อากาศ" ที่ชุมชนที่เคยมีมีอากาศบริสุทธิ์สดใสก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อรถยนต์เข้ามาปลอ่ยควันพิษ หรือมลภาวะเรื่อง"เสียง" ที่ดังลั่นจากท่อไอเสียและเครื่องยนต์ ไม่นับถึงการที่รถยนต์ก่ออุบัติเหตุฆ่าคนอีกจำนวนมากในแต่ละปี




พอวันนี้ มีเรื่อง"โลกร้อน"พูดกัน รถยนต์ก็กลายเป็น"แพะ"อีกตัวที่ถูกมองว่าเป็นตัวการเผาผลาญพลังงาน




ความจริงหลายประเทศเขาคิดเรื่อง"ลดปริมาณรถยนต์" กันนานแล้ว และน่าแปลกที่ประเทศที่คิดเรื่องนี้ เป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ อย่างอังกฤษ ที่ตั้งเป้าให้ประชาชนหันมาใช้"จักรยาน" มากขึ้น โดยรัฐบาลอังกฤษเริ่มวางแผนสร้างเส้นทางจักรยานเพื่อเชื่อมโครงข่ายขยายระหว่างบ้านไปยังสำนักงาน โรงเรียน โบสถ์ และแหล่งสันทนาการต่างๆ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป้นประเทศที่ผลิตรถยนต์มากที่สุดแห่งหนึ่ง ก็สนับสนุนใช้เส้นทางจักรยานไม่น้อยหน้าประเทศอื่น อย่างนครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ มีการศึกษาเรื่อง"ไบค์เลน" อย่างจริงจัง ตั้งแต่มาตรฐานของเส้นทางว่าควรจะมีความกว้างเท่าไหร่ ควรจะมีกี่ช่องทาง ให้เป็นวันเวย์หรือทูเวย์ ทางเชื่อมกับรถสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ รวมถึง"ที่จอดรถจักรยาน"



ญี่ปุ่นและจีน เป็น 2 ประเทศในเอเชียที่รณรงค์เรื่องนี้มากขึ้น และมี"ไบค์เลน"ที่ถือว่า"สำคัญกว่า"ถนนของรถยนต์



ความจริงแล้ว เรื่อง"จักรยาน" เป็นเรื่องที่"พูด"กันมานาน และบ้านเราเองก็มี"ไบค์เลน" แต่ที่ผ่านมาก็เป็นเพียง"กระแส" และจะถูก"ลืม" เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไบค์เลนบนถนนลาดพร้าว วันนี้ถูกเบียดบังด้วยรถเข็นขายลูกชิ้น แต่ไม่มี"เทศกิจ"หรือเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปจัดการ และ"คนรักจักรยาน"ก็จะกลายเป็น"พลเมืองชั้นสอง"ต่อไป




อยากเห็น รัฐบาล กทม. หรือท้องถิ่นให้ความสำคัญเรื่องนี้มากกว่าแค่"รณรงค์ปีละวัน" ในวัน car free day วันที่ 22 กันยายน มีการศึกษาพบว่า สร้างทางหลวงต้องลงทุนกิโลเมตรละ 30 ล้านบาท และกินพื้นที่เป็น 6 เท่าของเส้นทางจักรยาน คืดพื้นที่ถนนที่รถยนต์วิ่งได้ 1 คัน หากกลายเป็น"ไบค์เลน" ก็สามารถปั่นรถจักรยานได้ถึง 6 คัน




ความสนใจเรื่อง"จักรยาน" ทำให้ องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (โออีซีดี) กำลังเร่งจัยเรื่องจักรยานและอุปกรณ์ชิ้นส่วนจักรยาน เพื่อเสนอองค์การการค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) ให้กำหนดเป็นสินค้าที่ปลอดจากพิกัดภาษีศุลกากร เพราะจักรยานคือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรืออีอีพี (EPPs-Environmentally Preferable Products) หากเป็นเช่นนั้นจริง โลกเราคงสวยงามมากขึ้น


ไม่(เคย)แปลกใจ ที่เมื่อคนไทยไปสวิสเซอร์แลนด์ ไปญี่ปุ่น ไปสวีเดน จะ"ประทับใจ"เรื่องคนถีบจักรยานในเมือง(ใหญ่) แต่เมื่อมีคนแนะนำ คนไทยก็จะอ้างเรื่องอากาศ(ร้อน) ไม่อยากถีบ ทั้งที่สามารถแก้ไขได้ และ




ฉันยังเชื่อว่าหากหน่วยงานรัฐให้ความสำคัญเรื่อง"ไบค์เลน" คือเน้นเรื่อง"ความปลอดภัย" ก็น่าจะมีคนถีบจักรยานมากขึ้น เพราะเส้นทางจักรยานในกรุงสตอกโฮล์ม เป็นเส้นทางสะดวกในการเดินทาง เพราะอยู่ในแนวต้นไม้ ขณะที่บางเส้นทางขนานไปกับแนวชายฝั่งทะเล




ความจริงแล้ว คนเริ่มสนใจเรื่อง"จักรยาน" เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรกในปี 2513 ซึ่งเห็นได้จากช่วงปี 2516-2526 ทั่วโลกมีคนใช้จักรยานเพิ่มจาก 52 ล้านคัน เป็น 74 ล้านคัน และในปี 2543 ทั่วโลกผลิตจักรยานได้ถึง 101 ล้านคัน โดยประเทศที่ให้ความสำคัญกับจักรยานมากก็คือประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ที่เริ่มวางโครงข่ายเส้นทางจักรยานอย่างเป็นระบบ วันนี้ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน มีเส้นทางจักรยานเชื่อมกับเส้นทางรถไฟ รถบัส เกือบทั่วประเทศ เนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศมีเส้นทางจักรยานเชื่อมไปทุกชุมชน สถานีรถไฟในนครอัมสเตอร์ดัม มีอาคารจอดรถจักรยานสูง 3 ชั้น เพราะเส้นทางจักรยานในเนเธอร์แลนด์มีความยาวกว่า 19,000 กิโลเมตร ขณะที่ในเยอรมนี ประเทศที่เป็นเจ้าพ่ออุตสาหกรรมรถยนต์ มีเส้นทางจักรยานเชื่อมทั้งประเทศกว่า 31,000 กิโลเมตร


ขณะที่สหรัฐอเมริกา ตัวเลขของสำนักงานสถิติด้านการขนส่งระบุว่า คนอเมริกันขี่จักรยานไปทำงาน 33 ล้านคน และเดินเท้าไปทำงาน 140 ล้านคน และมีการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เช่น ที่มลรัฐอริโซนา ชาวบ้านอนุมัติให้กองทุนอริโซนา เฮอริเทจ นำเงินกำไรจากการขายลอตเตอรี่ เมื่อปี 2533 ประมาณ 800 ล้านบาทมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเอาไปทำทางจักรยาน อีกส่วนให้กับอุทยานของรัฐอริโซนา เพื่อไปทำแทร็กจักรยานและทางเชื่อมภายในอุทยานให้คนไปเที่ยวอุทยานขี่หรือเดินพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนชาวกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ชาวเมืองสนับสนุนให้ผู้บริหารเมืองทำทางเท้า ทางจักรยานจนเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบกับรถไฟฟ้าใต้ดิน


ในญี่ปุ่น รถจักรยานถือเป็นยานพาหนะ จึงต้องอยู่ภายใต้กฎจราจร หลายจังหวัดจึงกำหนดให้ผู้ขี่รถจักรยานต้องเข้าอบรมเพื่อสอบขอใบอนุญาตขี่จักรยาน




ที่กรุงลอนดอน มี แอลซีซี (LCC : London Cycling Campaign) ซึ่งถือเป็นองค์กรนักปั่นจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแกนกลางสำคัญที่รณรงค์เคลื่อนไหวให้คนอังกฤษหันมาปั่นจักรยานกันเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และรณรงค์จนทุกวันนี้ มีชาวลอนดอนปั่นจักรยานไปทำงานประมาณวันละ 6.5 แสนคน






ถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะเริ่มถีบจักรยานพร้อมกัน







อ้ายคนจน จำต้องทนปั่นรถถีบ จะไปจีบอี่น้องคนงาม พอไปถึงอ้ายก่ฟั่งเอิ้นถามพอไปถึงอ้ายก่ฟั่งเอิ้นถาม


อี่น้องคนงามกิ๋นข้าวแลงแล้วกา




น้องได้ยินก่ปิดประตู๋ดังปั้ง อ้ายเลยฟั่งจู๋งรถถีบออกมาอ้ายคนจน บ่มีวาสนา อ้ายคนจนมันบ่มีวาสนาจะ


เหมือนฮอนด้า หรือยามาฮ่าเปิ้นได้จะใด




กำเดียวก่มีรถยามาฮ่า ร้อยซอยห้าก๋ายหน้าอ้ายไปน้องได้ยินก่ฟั่งลุกต๋ามไฟ น้องได้ยินก่ฟั่งลุกต๋ามไฟแล้วเอิ้นออกไป.... อ้ายมอเตอร์ไซค์ไปไหนมาเจ้า ( อ้ายเสื้อลายไปไหนมาเจ้า )




อ้ายได้ยินเป๋นดีผิดใจแต๊ว่า จะขายนาซื้อคาวาซักคันพอไปถึงอ้ายจะเบิ้นน้ำมัน พอไปถึงอ้ายจะเบิ้นน้ำมันหื้อน้องแก๊นควัน ต๋ายจ้างมันสาวมอเตอร์ไซค์

ไม่มีความคิดเห็น: